วันนี้ที่ สวพ.8 จังหวัดสงขลา เกษตรกรผู้นำ จนท. ศวพ.จังหวัด จนท.ส่งเสริมเกษตร อาจารย์และ นศ.มหาลัย มาฟังการการบรรยายและฝึกปฎิบัติการผลิตไส้เดือนฝอยพันธุ์ไทย สูตรการใช้วัสดุในครัวเรือน บรรยายโดย ดร.นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด ผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตรที่ศึกษาค้นคว้าเรื่องไส้เดือนฝอยมา 20 กว่าปี

การใช้ไส้เดือนฝอยกำจัดแมลงศัตรูพืช ถือเป็นเรื่องดี จะเป็นการลดการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สร้างความปลอดภัยในระบบห่วงโซ่อาหาร
ประเด็นคือ จะทำอย่างไรถึงจะให้มีการใช้อย่างแพร่หลาย?
ปัจจัยที่จะต้องมาวิเคราะห์ถึงระบบการจัดการจากห้องแลปจนถึงมือเกษตรกรที่น่าสนใจมีดังนี้
1. ใช้แนวคิดระบบการส่งต่อเมล็ดพันธุ์พืช คือพืชพันธุ์ดีที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาใหม่ๆจะมีระบบการส่งต่อคือ 1) การผลิตพันธุ์พ่อแม่ 2) การผลิตพันธุ์ชั้นพันธุ์หลัก หรือเป็นลูกผสมรุ่นที่1 สมมุติว่าได้ 100 กก. 3)การผลิตพันธุ์ชั้นขยาย คือเอา 100 กก. มาปลูกต่อให้ได้มากขึ้น เป็น 1000 กก. 4) การผลิตพันธุ์ชั้นจำหน่าย คือเอา 1000 กก.มาปลูกให้ 10000 กก จำหน่ายไปให้เกษตรกรได้ใช้กัน
ในระบบนี้ เห็นชัดในตัวอย่างการผลิตพันธ์ข้าว ในขั้นที่ 1-2 ศูนย์วิจัยข้าวหรือนักวิจัยจะเป้นคนทำ ในขั้นที่ 3 นักส่งเสริม หรือศูนย์ขยาย เป็นคนทำ ในขั้นที่ 4 เกษตรกรผู้นำเป็นคนทำ จะเห็นว่ามีการแบ่งหน้าที่กันชัดเจน
หากเอาระบบนี้มาใช้กับชีวภัณฑ์เช่นไส้เดือนฝอย เช่น
1) กรมวิชาการเกษตรส่วนกลางถ่ายทอดองค์ความรู้มาให้ สวพ.เขต และ ศวพ.จังหวัด ทำหน้าที่เหมือนศูนย์วิจัยข้าว ผลิตหัวเชื้อ และทำศูนย์เรียนรู้ในศวพ. เพื่อบริการหน่วยงานส่งเสริมในแต่ละจังหวัด 2) หน่วยงานกรมส่งเสริม ศูนย์อารักขา (ศทอ) ทำหน้าที่เหมือนศูนย์ขยายพันธุ์ข้าว ส่วนเกษตรจังหวัด เกษตรอำเภอ ผลิตเชื้อ และ ส่งเสริมให้เกษตรกรมีการนำไปใช้ในวงกว้าง
การดำเนินงานของ สวพ.เขต ซึ่งเป็นตัวแทนกรมวิชาการเกษตรในส่วนภูมิภาค จะต้องมีห้องปฎิบัติการครบถ้วนเหมือนส่วนกลาง และประสานงานกับ ศทอ/ส่งเสริมภาค ซึ่งเป็นหน่วยงานระดับเขตของกรมส่งเสริม ส่วนศวพ.จังหวัด เป็นส่วนย่อยที่จะอำนวยความสะดวกทางวิชาการทำงานร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด เป็นลำดับชั้น และเกษตรอำเภอจะเป็นหน่วยสำคัญในการขยายพื้นที่ซึ่งมีรูปแบบการทำงานกับกลุ่มเกษตรกร และท้องถิ่น
รูปแบบการวิจัยคิดค้นโดยกรมวิชาการ ส่งต่อเกษตรกรโดยกรมส่งเสริม เป็นระบบที่กระทรวงเกษตรออกแบบมาเป็นอย่างดี และ เป็นระบบที่สอดคล้องกันในเชิงทฤษฎีการวิจัยส่งเสริมนวัตกรรม
2. การส่งต่อเอกชนในการสร้างผลิตภัณฑ์เชิงการค้า ระบบนี้ถือว่ายั่งยืนที่สุด แต่คอขวดในปัจจุบัน ต้องพัฒนาที่ระบบการขึ้นทะเบียนและดูแลมาตรฐานผลิตภัณฑ์ และรัฐบาลมีการมาตรการอุดหนุน จูงใจ ส่งเสริมให้เอกชนหันมาทำการผลิต
3. กรณีเทียบเคียง การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เอกชนไม่ทำการผลิตเพราะไม่คุ้มค่าการลงทุน
การผลิตจึงตกอยู่กับราชการ หากใช้แนวทางนี้กับชีวภัณฑ์จะต้องมีการทุ่มงบประมาณจำนวนมากให้กับกรมวิชาการในรูปแบบเดียวกับการผลิตพันธุ์ถั่วต่างๆ
ซึ่งจะต้องกำหนดเป้าหมายปริมาณ และแบ่งงานให้ศูนย์ทำการผลิตในศวพทั้งหัวเชื้อและเชื้อขยาย
มีการผลิตในศวพ และในชุมชนต้นแบบ โดยราชการซื้อกลับ มาจำหน่ายจ่ายแจก และกรมส่งเสริมทำหน้าที่ส่งเสริมการใช้ให้กว้างขวาง
รูปแบบนี้จะสำเร็จได้ขึ้นกับการให้งบประมาณลงมา ซึ่งในขั้นแรกต้องลงทุนอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ให้พร้อมแบบเดียวกับศูนย์เมล็ดพันธุ์พืช




ชีวภัณฑ์ เป็นนวัตกรรมที่มีการคิดค้นมายาวนานกว่า 30 ปี แต่ยังเป็นปัญหาในเรื่องการนำมาใช้ประโยชน์เนื่องจากขาดระบบการขยายการผลิตที่จะให้มีผลิตภัณฑ์กระจายได้อย่างสะดวกต่อการใช้งาน และมีปริมาณเพียงพอทั่วถึง หากมีการปรับระบบใหม่ก็จะเป็นประโยชน์มาก แต่ถ้าไม่แก้ไข ก็จะแค่เป็นของดีแต่มีประโยชน์น้อย เพราะว่าไม่สามารถนำไปใช้งานได้จริง