“5 แนวทาง ในการปรับตัวของเกษตรกร ในสถานการณ์ covid 19” สถานการณ์ และเงื่อนไข : โรคโควิด และ พรก.ฉุกเฉิน ทำให้คนออกจากบ้านน้อยลง สถานที่ต่างๆปิดตัว การบริโภคน้อยลง จะกระทบ เส้นทางการไหลของสินค้าเกษตรจากไร่นาสู่โต๊ะอาหาร คือ เดิมจากไร่นา เกษตรกรสามารถนำสินค้าขายไปสู่ผู้บริโภคโดยตรง ก็จะทำได้น้อยลง และจากไร่นาสู่พ่อค้าคนกลาง ผู้จัดจำหน่าย และผู้บริโภค จะลดเช่นเดียวกัน

สินค้าสดขายได้น้อยลง ขายได้ยากขึ้น ใช้เวลานานขึ้น
ข้อเสนอแนะในการปรับตัวภาคเกษตรมีดังนี้
- จัดตลาดนัดชุมชนแบบร้านสะดวกซื้อ
ชุมชน ท้องถิ่น และราชการ ต้องเข้ามาจัดระเบียบตลาดให้เป็นไปตามหลักการจัดการโควิดเช่นเดียวกับที่ร้านสะดวกซื้อและห้างสรรพสินค้าทำอยู่ เช่น การคัดกรอง มีที่ล้างมือ มีวัสดุล้างมือ การเว้นระยะแผงขาย คนต้องใส่หน้ากาก รักษาระยะห่าง และ การฉีดฆ่าเชื้อหลังตลาดเลิก มีการประกาศให้คำเตือนและให้ความรู้ ที่สำคัญชุมชนต้องสื่อสารและประกาศตัวให้สังคมมั่นใจ “ตลาดสด ตลาดนัด ปลอดภัยไร้โควิด” ซึ่งจะมีจุดดีกว่าห้างตรงที่ตลาดกลางแจ้งจะปลอดภัยกว่าห้องแอร์ - ส่งถึงบ้าน ประสานห้าง
บริการส่งสินค้าถึงบ้านทั้งส่งเองและออนไลน์ในรูปผลผลิตหรือ ต้นกล้าผักให้ไปเลี้ยงเอง และติดต่อห้างสรรพสินค้าในการกระจายสินค้า ซึ่งราชการควรอำนวยความสะดวกให้เกษตรกร - แปรรูป ยืดเวลา สร้างมูลค่าเพิ่ม
กรณีสินค้าสดออกสู่ตลาดลดลง จะมีความเสียหายเกิดขึ้น เกษตรกรต้องทำการแปรรูปพืชผลสด ไม่ให้เกิดความเสียหาย เช่น ผักผลไม้ดอง อบ แช่อิ่ม หรือการแปรสภาพอื่นๆ จะยืดเวลาการขายและยังช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม - ปลูกพืชเพื่อโภชนเภสัช และสมุนไพร
ในวิกฤตโรคระบาด เป็นโอกาสของพืชสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร หรือพืชทีกินแล้วได้สรรพคุณทางยามาด้วย เกษตรกรสามารถเพาะต้นกล้าขาย หรือนำมาทำเป็นแคปซูล - เศรษฐกิจพอเพียง
กรณีทุกอย่างต้อง หยุด!
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการทำเกษตรและการดำรงชีพ จะช่วยให้เกษตรกรอยู่รอด
เช่น ปลูกทุกอย่างที่กิน พึ่งตนเอง ลดการพึ่งพาภายนอก ประหยัด ใช้แต่พอดี ใช้เหตุใช้ผลคิดทบทวนหาทางปิดจุดอ่อนในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น มีความระมัดระวัง หมั่นติดตามหาความรู้
“ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการจัดการโควิด และราชการลงมาช่วยเกษตรกรที่จะรับมือ เพื่อให้ผ่านวิกฤตสุขภาพนี้ไปได้”