
ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ วิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมเพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ที่มี ศักยภาพ ให้ผลผลิตสูง ทนทานแล้ง และต้านทานโรคทางใบที่สำคัญ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นเหมาะสมกับฤดู ปลูกและระบบปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกในนาหลังเก็บเกี่ยวข้าว
จากการประเมินผลผลิตตามขั้นตอน การปรับปรุงพันธุ์ในแหล่งปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่สำคัญของประเทศไทย พบว่า
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 ให้ผลผลิต 1,176 กิโลกรัมต่อไร่ มากกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ร้อยละ 10 (เฉลี่ยจาก 64 แปลงทดลอง) ในสภาพขาดน้ำระยะออกดอกเป็นเวลา 1 เดือน ให้ผลผลิต 749 กิโลกรัม ต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์นครสวรรค์ 3 ที่ให้ผลผลิต 589 กิโลกรัมต่อไร่ ร้อยละ 27
มีความต้านทานโรคใบไหม้ แผลใหญ่ และโรคราสนิม ต้านทานปานกลางต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบด่างที่เกิดจากเชื้อ Maize dwarf mosaic virus (SCMV-MDB) ฝักแห้งเร็ว หรือมีความชื้นขณะเก็บเกี่ยวน้อยกว่าพันธุ์อื่นๆ ในขณะที่ต้นยังเขียวสด สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นที่อายุ 95-100 วัน
ในปี 2562-2563 ขยายผลการใช้ ประโยชน์ไปสู่เกษตรกรและภาคเอกชน ได้แก่ โครงการต้นแบบหมู่บ้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม เกษตรกรสามารถน ำเมล็ดพันธุ์ไปปลูกครอบคลุมพื้นที่ 121,330 ไร่ ได้ผลผลิต 142,680 ตัน คิดเป็น รายได้ที่เกษตรกรได้รับจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 5 เป็นเงิน 1,220 ล้านบาท เป็นการช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มขีดความสามารถของเกษตรกรไทย