“งานวิจัยเพื่อสร้างความเข้มแข็งชุมชนเกษตร กรมวิชาการเกษตร” ตอนที่3 โครงการวิจัยในพื้นที่ภาคใต้
ในแผนงานวิจัยการพัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมกับสภาพภูมิสังคมและเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนเกษตรกรรม ปี 2559-2564 จะประกอบด้วยโครงการวิจัยต่างๆที่ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรในแต่ละภาค ตอนที่3 นี้ จะนำเสนอตัวอย่างโครงการวิจัยในพื้นที่ภาคใต้ มีดังนี้
- งานวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง เช่น
โครงการทดสอบและพัฒนาการผลิตพืชเศรษฐกิจหลักที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ในภาคใต้ตอนล่าง
-การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมของยางพารา
-การป้องกันกำจัดโรครากขาวของยางพารา
-การจัดการธาตุอาหารพืชที่เหมาะสมสำหรับปาล์มน้ำมัน
โครงการวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ที่เหมาะสมกับภูมินิเวศน์ในภาคใต้ตอนล่าง
-การเปรียบเทียบพันธุ์จำปาดะ
-การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไมคอร์ไรซาต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตส้มโอหอมหาดใหญ่
-การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับไมคอร์ไรซาต่อปริมาณและคุณภาพผลผลิตผลส้มจุก
-การจัดการทรงพุ่มมันปูผักพื้นบ้านทางเลือก
-การจัดการทรงพุ่มชะมวงผักพื้นบ้านทางเลือก
-การนำวัสดุเศษเหลือจากการผลิตแป้งสาคูมาใช้เพาะเห็ดเศรษฐกิจ เห็ดแครง เห็ดนางรม เห็ดหูหนู เห็ดขอนขาว
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการจัดการผลิตพืชที่ยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
-ระบบการจัดการผลิตพืชเศรษฐกิจชุมชนที่ยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-การจัดการผลิตพืชผสมผสาน 9 กลุ่มพืช ระดับเครือข่ายชุมชนที่ยั่งยืนโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-พัฒนาต้นแบบระบบการจัดการผลิตพืชแบบประณีตที่ยั่งยืนในพื้นที่ฟาร์มขนาดต่างๆ โดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
-พัฒนาตัวชี้วัดการผลิตพืชตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับครัวเรือน และระดับชุมชนหมู่บ้าน
โครงการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตามเขตความเหมาะสมของดิน (Zoning by Agri-Map)
-การการวิจัยและพัฒนาการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการธาตุอาหารตามเขตความเหมาะสมของดินระดับเหมาะสมสูง (S1) ระดับปานกลาง (S2)
ระดับเล็กน้อย (S3) ระดับไม่เหมาะสม (N)
โครงการพัฒนารูปแบบการปลูกกาแฟโรบัสตาที่เหมาะสมในภาคใต้ตอนล่าง
-การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมกับพืชเศรษฐกิจ
-การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมยางพาราในสวนยางระบบใหม่
-การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมกับยางพาราสวนเดิม
-การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมกับทุเรียน
-การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมลองกอง
-การปลูกกาแฟโรบัสตาร่วมมะพร้าว
-การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกาแฟสารและผลิตภัณฑ์กาแฟโรบัสตา
-สำรวจและศึกษาข้อมูลด้านพฤษศาสตร์ของกาแฟพันธุ์ดั้งเดิมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง
โครงการทดสอบเทคโนโลยีการจัดการสวนมะพร้าวน้ำหอม
-การจัดการธาตุอาหารของมะพร้าวน้ำหอม
-การปลูกพริกไทยเป็นพืชเสริมรายได้ในสวนมะพร้าวน้ำหอม
-การปลูกพืชคลุมดินในสวนมะพร้าวน้ำหอม
-การจัดการสวนมะพร้าวอุตสาหกรรม
-การจัดการธาตุอาหารสวนมะพร้าวอุตสาหกรรม
-การปลูกพริกไทยเป็นพืชเสริมรายได้ในสวนมะพร้าวอุตสาหกรรม
โครงการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอหอมควนลัง
- งานวิจัยในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
โครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตปาล์มน้ำมันในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
-ทดสอบพันธุ์ปาล์มน้ำมันลูกผสมสุราษฎร์ธานี 7
-การให้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและใบปาล์มน้ำมันของกลุ่มเกษตรกร
-การจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างถูกต้องและเหมาะสมในพื้นที่ปลูกสำคัญ
-ระบบการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนในพื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมซ้ำซาก
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการปลูกไม้ผลร่วมกับปาล์มน้ำมันเพื่อความยั่งยืนในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
-การปลูกปาล์มร่วมลางสาด และทุเรียนสาลิกา
-การระบาดของโรคโคนเน่าที่เกิดจากเชื้อ Ganoderma sp. ของปาล์มน้ำมัน
-ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเข้าร่วมโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการวิจัยและพัฒนาระบบการผลิตพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นร่วมกับพืชเศรษฐกิจหลัก
-ระบบการปลูกผักเหลียงและผักพูม ร่วมกับยางพารา
-ระบบการปลูกหมาก ลางสาดเกาะสมุย ทุเรียนพื้นเมือง ลังแข ละไม จำปาดะ ทุเรียนสาริกา ส้มโอทับทิมสยาม สะตอ ร่วมกับปาล์มน้ำมัน
-สำรวจและศึกษาระบบการปลูกพืชเศรษฐกิจท้องถิ่นร่วมกับพืชเศรษฐกิจหลัก
โครงการศึกษาห่วงโซ่อุปทานการผลิตมะพร้าวในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรและสุราษฎร์ธานี
…………………………..
โครงการวิจัยและพัฒนาต่างๆนี้ ดำเนินการโดย สวพ.7 และ สวพ.8
โดยสรุปจะพบว่า งานวิจัยที่ดำเนินงานในพื้นที่ชุมชนภาคใต้ในระยะนี้ มีทั้งเทคโนโยีในพืชหลัก เช่น ปาล์มน้ำมัน ยางพารา มะพร้าว กาแฟ เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มรายได้แก่ชาวสวนยาง สวนปาล์ม โดยการปลูกพืชร่วมกับพืชหลัก มีการวิจัยพืชท้องถิ่นเพื่อนำมาสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้น ตลอดจนงานวิจัยเชิิงพื้นที่ที่มุ่งสร้างความพอเพียงของชุมชน เป็นต้น
ซึ่งผลการวิจัยนอกจากจะเป็นการทำให้เพิ่มความมั่นคงทางอาหาร เพิ่มรายได้จากการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพผลผลิต เพิ่มโอกาสการสร้างรายได้แล้ว ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเกษตรกรหรือชุมชนเกษตรต้นแบบในการร่วมกันจัดการพืชของชุมชนอีกด้วย
ธัชธาวินท์ สะรุโณ



