“ครัวเรือนเกษตร BCG ” ทำอย่างไร?
เขียนเรื่องที่กำลัง hot! รัฐบาลประกาศขับเคลื่อนโมเดลเศรษฐกิจ BCG เป็นวาระแห่งชาติปี 64-69 ถือเป็นนโยบายขับเคลื่อนประเทศล่าสุด ที่เราๆต้องมาศึกษา
ผมทำงานวิจัยและพัฒนาเกษตร จึงมองในแง่ที่ว่า ไม่ว่านโยบายอะไร เราจะเอามาประยุกต์สู่ ‘การปฎิบัติให้เกิดประโยชน์ให้เกิดผล เป็นรูปธรรมได้อย่างไร?”
ทบทวนกันก่อน
B=Bio แปลว่า สิ่งมีชีวิต หรือ ชีวภาพ bio- diversity คือ ความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งการมีชีวิตต้องอาศัยกาพภาพ สองอย่างนี้เป็นองค์ประกอบของกันและกัน เช่น พืชกับดิน
C=Circular แปลว่า หมุนเวียนเป็นวงกลม หมายถึง ของที่มีการนำมาใช้ประโยชน์ ต่อๆ ไปจนกระทั้งกลับมายังจุดเดิม เช่น
ปลูกหญ้าเลี้ยงวัว -นำขี้วัวนำมาใส่แปลงหญ้า แต่ควรทำให้เกิดประโยชน์มากอย่างขึ้น เช่น ปลูกหญ้าเลี้ยงวัว-นำขี้วัวทำแก็ส-เศษขี้วัวจากแก๊สนำมาใส่แปลงหญ้า
G=Green แปลว่าสีเขียว หมายถึงความยั่งยืน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพ เช่น ใช้สารชีวภัณฑ์แทนสารเคมีกำจัดแมลง
E=Economy แปลว่าเศรษฐกิจ ซึ่งควรมีความหมายรวมไปถึง
การที่ทำเพื่อนำไปสู่ผลทางเศรษฐกิจ เช่น การจะสร้างรายได้จะต้องมี การจัดการ คน งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ
สรุปในความหมายของผม ครัวเรือนเกษตร BCG คือ ครัวเรือนที่มีการทำเกษตรโดยนำทรัพยากรชีวภาพ เช่น พืชพรรณและความหลากหลายทางชีวภาพ ทรัพยากรกายภาพ เช่น ดิน น้ำ เครื่องมือ และทรัพยากรมนุษย์ เช่น แรงงาน ความรู้ เป็นต้น มาใช้อย่างเหมาะสมสอดคล้องกับหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีการนำมาสร้างประโยชน์อย่างต่อเนื่อง คุ้มค่า ลดการสูญเสียที่เปล่าประโยชน์ สามารถนำมาสร้างมูลค่าให้เพิ่มขึ้น เกิดประโยชน์ทั้งทางเศรษฐกิจ เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้น
วิธีการประยุกต์ BCG Model ระดับครัวเรือนเกษตร BCG
ขั้นตอนที่1 กำหนดเป้าหมาย
เช่น
- มีสินค้า BCG ที่พัฒนาโดยใช้ทรัพยากรที่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวของครัวเรือนอย่างน้อย 2 ชนิด (พืช สัตว์ ประมง )
- มีการหมุนเวียนการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างน้อย 3 ชนิด (เช่น เศษพืช มูลสัตว์ น้ำบ่อปลา) ที่มีการใช้หมุนเวียน อย่างน้อย 4 รอบ (จุลินทรีย์ พืช สัตว์ คน ได้ใช้ )
- มีการทำเกษตรที่อนุรักษ์ทรัพยากร และเป็นมิตร เช่น เกษตรปลอดภัย (GAP อินทรีย์) เกษตรที่ใช้ทรัพยากรคุ้มค่า (เกษตรทฤษฎีใหม่) เกษตรที่ใช้ความหลากหลาย(เกษตรผสมผสาน) เกษตรสีเขียว(ไม่มีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช)
- การพัฒนาการผลิต
ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเชิงปฎิบัติการ (Action research & development)
2.1 ศึกษา วิเคราะห์ ฟาร์มตัวเอง วิเคราะห์ด้าน
B- ทรัพยากรกายภาพ/ ชีวภาพ
ตอบคำถาม เรามีอะไรบ้าง สภาพเป็นอย่างไร
C- มีการใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง
G- ส่งผลอย่างไรในแง่เศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม
2.2 วางแผนพัฒนาในแต่ละประเด็น
-จะต้องมีความรู้อะไร
-จะต้องใช้ทรัพยากรอะไรบ้าง
-จะต้องเชื่อมโยงใครบ้าง
2.3 ปฎิบัติตามแผนงาน และบันทึกผล
2.4 วิเคราะห์ ประเมินผล สรุปบทเรียน
2.5 ปรับแผน-ลงมือทำรอบใหม่-ติดตามผล-ประเมินผล ทำแบบนี้หมุนเวียนไปเรื่อยๆ จะทำให้การพัฒนามีความสำเร็จ - การขยายผล
ครัวเรือนสำเร็จแล้ว ต้องช่วยเพื่อนบ้าน ช่วยชุมชนด้วย คือหลักการพัฒนาบนฐานปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในระดับที่สูงขึ้น เช่น กลุ่ม ชุมชน เครือข่ายชุมชน ให้เกิดการพึ่งตนเองได้ทั้งความเพียงพอ และการสร้างภูมิคุ้มกัน
เป็นข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาภาคเกษตร ลองนำไปใช้ดูครับ
…..ธัชธาวินท์ สะรุโณ



